วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ระมัดระวังซอฟต์แวร์วินโดวส์ 7 ปลอมระบาด

ระมัดระวังซอฟต์แวร์วินโดวส์ 7 ปลอมระบาด
บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศเตือนลูกค้าและคู่ค้าในประเทศไทยให้ระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อซื้อผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์ หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ตรวจพบและจับกุมร้านขายซอฟต์แวร์ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์วินโดวส์ 7 ละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งที่ระบบปฏิบัติการใหม่ล่าสุดนี้ยังไม่มีการเปิดตัวและวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด

ตัวอย่างซอฟต์แวร์แท้ของไมโครซอฟท์


จากนโยบายปราบปรามซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศอย่างต่อเนื่องและจริงจังของกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี (บก.ปอศ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศ เจ้าหน้าที่ตำรวจจาก บก.ปอศ. ได้เข้าตรวจค้นร้านขายซอฟต์แวร์ในห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า และจับกุมร้านค้าไม่ระบุชื่อ ตั้งอยู่เลขที่ 148 บริเวณชั้น 1 และร้านมิดิเฮ้าส์ เลขที่ 421 บริเวณชั้น 4 รวมทั้งสิ้นจำนวน 2 ร้าน ซึ่งได้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 7 ละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งที่ยังไม่มีการเปิดตัวและวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการ

เจ้าของร้านทั้ง 2 แห่งดังกล่าวถูกฟ้องร้องและดำเนินคดีตามกฎหมาย จากการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งหากศาลตัดสินว่ามีความผิดจริง จำเลยทั้ง 2 คนจะได้รับโทษจำคุก 3 เดือนถึง 2 ปี หรือปรับระหว่าง 50,000 ถึง 400,000 บาท

นางสาวรีเบคก้า โฮ ตัวแทนด้านการรณรงค์ทรัพย์สินทางปัญญา ไมโครซอฟท์ กล่าวว่า “วินโดวส์ 7 มีกำหนดเปิดตัวอย่างเป็นทางการทั่วโลกในวันที่ 22 ตุลาคมนี้ สำหรับในประเทศไทยนั้นจะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการแก่ผู้บริโภคทั่วไปในวันที่ 31 ตุลาคม ดังนั้น ผลิตภัณฑ์วินโดวส์ 7 ที่วางจำหน่ายก่อนหน้านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์เถื่อนอย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งจากการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจครั้งล่าสุดนั้น ร้านค้าที่จำหน่ายได้โฆษณาชวนเชื่อว่าเป็นผลิตภัณฑ์วินโดวส์ 7 แท้จนผู้บริโภคหลงเชื่อและซื้อโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์”
“ไมโครซอฟท์ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเกี่ยวกับการจับกุมในครั้งนี้ ทำให้ทราบว่าผู้บริโภคถูกหลอกว่าเป็นซอฟต์แวร์แท้ ด้วยเหตุนี้ ไมโครซอฟท์จึงต้องการกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์แท้ก่อนซื้อ ซึ่งสิ่งที่สามารถสังเกตได้ง่ายคือ ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์มักมีบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพ ตัวหนังสือบนเครื่องหมายการค้าและฉลากมีการสะกดผิด แผ่นซีดีไม่ได้คุณภาพ สติ๊กเกอร์ 3 มิติ หรือ โฮโลแกรมและฉลาก COA ไม่ได้มาตรฐาน”

ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการเติบโตของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในระยะยาว ด้วยอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่ยังคงสูงในประเทศไทย ทำให้รายได้จากการขายซอฟต์แวร์แท้ที่จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์นั้นกลับต้องตกเป็นของผู้ผลิตซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ผลิตภัณฑ์วินโดวส์ 7 ไม่เพียงแต่จะสร้างรายได้ให้กับไมโครซอฟท์เท่านั้น แต่ยังจะสร้างประโยชน์ให้กับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับบริษัทไอทีที่ขายอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ เขียนซอฟต์แวร์ ให้บริการด้านไอที และผู้แทนจำหน่าย ซึ่งการเติบโตที่เอื้อประโยชน์ให้กับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องนี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศในภาพรวม ที่พร้อมจะฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจในวันข้างหน้า

จากรายงานล่าสุดของไอดีซีระบุว่า ทุกๆ หนึ่งดอลล่าร์สหรัฐที่ไมโครซอฟท์ได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์วินโดวส์ 7 ระหว่างเดือนตุลาคม 2552 ถึงสิ้นปี 2553 จะสร้างรายได้ให้กับอุตสาหกรรมไอทีทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยถึง 18.52 ดอลล่าร์ ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีการสร้างจิตสำนึกในการให้ความสำคัญต่อการเคารพทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น เพื่อการเติบโตของภาคธุรกิจและเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ หากในอนาคตอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศไทยที่ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 76 ไม่ลดลง ก็จะทำให้รายได้ของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ท้องถิ่นลดลง อีกทั้งประเทศไทยก็จะพลาดโอกาสจากการลงทุนของต่างชาติที่มีแนวโน้มย้ายฐานการลงทุนไปสู่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคที่ประสบความสำเร็จในการลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์

ก่อนหน้านี้ กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี (บก.ปอศ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้จับกุมผู้ที่ลักลอบจำหน่ายสินค้าซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านเว็บไซต์ ซึ่งได้ตรวจพบซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์ละเมิดลิขสิทธิ์กว่า 100 รายการ พร้อมอุปกรณ์ก็อปปี้แผ่นซีดี โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมในข้อหาผลิตและจำหน่ายซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ โดยศาลได้ตัดสินปรับ 100,000 บาท แต่ผู้ต้องหายอมรับผิดจึงลดเหลือ 50,000 บาท

ในอีกคดีหนึ่ง เจ้าของบริษัท New Technology Hardware ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมในข้อหาทำซ้ำซอฟต์แวร์อย่างผิดกฎหมาย และติดตั้งลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อจำหน่าย ศาลได้ตัดสินปรับ 75,000 บาท หลังจำเลยรับสารภาพ

การเข้าจับกุมซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในครั้งนี้ตอกย้ำให้เห็นถึงความพยายามในการปราบปรามและลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศไทย ซึ่งยังคงต้องอาศัยความพยายามอย่างต่อเนื่อง การจับกุมนับเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการปราบปรามซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งดำเนินการร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทย กรมทรัพย์สินทางปัญญา กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี (บก.ปอศ.) และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศใน ระยะยาว
“การเข้าจับกุมในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราในการพัฒนาประเทศไปสู่ประเทศที่ปลอดการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างสิ้นเชิง เนื่องจากการละเมิดลิขสิทธิ์และการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายนั้นถือเป็นภัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตของภาคข้อมูลและการสื่อสาร ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศเป็นอย่างยิ่ง” พ.ต.อ.ศรายุทธ พูลธัญญะ รองผู้บังคับการกองปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี(บก.ปอศ.) กล่าว

“ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ ไมโครซอฟท์ให้การสนับสนุนแนวทางการปราบปรามที่จริงจังของ บก.ปอศ. ในการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องด้วยเราตระหนักถึงความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อช่วยส่งเสริมให้เกิดช่องทางการค้าที่ถูกลิขสิทธิ์มากยิ่งขึ้น” นางสาวรีเบคก้า กล่าวเสริม “การละเมิดลิขสิทธิ์ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดผลเสียต่อธุรกิจซอฟต์แวร์และเศรษฐกิจของประเทศเท่านั้น แต่ยังส่งผลเสียต่อการใช้งานของผู้บริโภคด้วยเช่นกัน การใช้ซอฟต์แวร์ปลอมจะทำให้คอมพิวเตอร์ได้รับความเสี่ยงในการติดไวรัส เวิร์ม รวมถึงโค้ดต่างๆ อาทิ สปายแวร์และโทรจันเพิ่มมากขึ้น เนื่องด้วยวินโดวส์ 7 เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากความอุตสาหะของนักพัฒนาทั่วโลก ผู้บริโภคจึงย่อมคาดหวังว่าจะได้รับประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานซอฟต์แวร์แท้ แต่ซอฟต์แวร์ปลอมกลับไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

ไมโครซอฟท์จะยังคงทำงานอย่างใกล้ชิดกับคู่ค้าในการให้ความรู้ต่อผู้บริโภคเพื่อที่พวกเขาจะสามารถปกป้องตนเองได้ นอกจากนี้ คู่ค้าของของไมโครซอฟท์ยังได้รับคำแนะนำในการช่วยเหลือลูกค้าที่สงสัยว่าตนได้ซื้อซอฟต์แวร์วินโดวส์ 7 ปลอม รวมทั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์อื่นๆ ด้วย


วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

USB หรือ Universal Serial Bus

USB หรือ Universal Serial Bus
USB หรือ Universal Serial Bus ถูกวางโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ ผู้นำทางด้านอุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็คทรอนิคส์ และคอมพิวเตอร์ ช่วยกันวางมาตรฐาน โดยในยุคเริ่มแรกนั้น ก็มี COMPAQ, IBM, DEC, Intel, Microsoft, NEC และ Northern Telecom มาตรฐานของ USB นั้น ออกสู่สาธารณะชนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ปี พ.ศ.2537ด้วย Revision 0.7 และได้ปรับปรุงแก้ไขเรื่อยมา จนกระทั่ง เมื่อ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 ออกมาเป็น Revision 1.0 (USB1.0)ได้สำเร็จและยังได้ปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ จนเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 ได้เป็น Revision 1.1 (USB1.1)
เมื่อความเร็วที่ได้ ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ ดังนั้นทางกลุ่มผู้พัฒนา หรือ USB-IF ( USB Implementers Forum, Inc. ) ได้ร่างมาตรฐาน USB รุ่นใหม่ และได้ข้อสรุป เป็นมาตรฐานที่แน่นอน คือ USB 2.0 ในเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2543 สำหรับความเร็วในการ รับ-ส่ง ข้อมูลนั้น USB1.1 จะมีความเร็วอยู่ที่ 12Mbps ส่วน USB 2.0 นั้น รองรับระดับการรับส่งข้อมูลได้ถึง 3 ระดับ คือ
ความเร็ว 1.5 Mbps ( Low Speed ) สำหรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นต้องส่งข้อมูลคราวละมากๆ ความเร็ว 12 Mbps ( Full Speed ) สำหรับการเชื่อมต่อกับ USB 1.1 ความเร็ว 480 Mbps ( Hi-Speed ) สำหรับการเชื่อมต่อกับ USB 2.0 ด้วยกัน

Connector มีอยู่ 2 แบบ คือ แบบ A และ แบบ B และ Socket ดังรูป

ลักษณะของการทำงานของหัวต่อทั้งสองแบบมีดังนี้แบบ A จะเป็นการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ไปยังเครื่อง Computer เพื่อการประมวล เรียกว่า UpStream แบบ B จะกลับกันคือจะส่งข้อมูลเข้าหาอุปกรณ์ เรียกว่า DownStream
ลักษณะการเชื่อมต่อ
การเชื่อมต่อใช้งานนั้นสามารถเชื่อมต่อร่วมกันได้ทั้งที่เป็น USB1.1 และ USB 2.0 แต่จะได้ความเร็วที่ต่างกัน ถ้าหากต่ออุปกรณ์มาตรฐาน USB1.1 บนระบบบัสที่เป็น USB2.0 จะได้ความเร็ว = 12Mbpsถ้าหากต่ออุปกรณ์มาตรฐาน USB2.0 บนระบบบัสที่เป็น USB1.1 จะได้ความเร็ว = 12Mbpsถ้าหากต่ออุปกรณ์มาตรฐาน USB2.0 บนระบบบัสที่เป็น USB2.0 จะได้ความเร็ว = 480Mbps

USB port นั้นสามารถต่ออุปกรณ์ได้สูงสุดถึง 127 ตัว ซึ่งจะต้องอาศัย USB HUB ช่วยในการเชื่อมต่อและ ความยาวของสายสัญญาณที่จะใช้กับอุปกรณ์ USB นั้นจะได้ความยาวสูงสุดอยู่ที่ 5 เมตร แต่ถ้าหากใช้ HUB เป็นตัวขยายสัญญาณ ก็จะสามารถต่อพ่วงได้ยาวที่สุด 30 เมตร โดยผ่านสายเคเบิ้ล 6 เส้น เส้นละ 5 เมตร และ ใช้ HUB ช่วย 5 ตัว
ตารางเปรียบเทียบความเร็วการรับ-ส่งข้อมูล
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอุปกรณ์นั้นเป็น USB1.1 หรือ USB2.0
ลักษณะของอุปกรณ์ภายนอกของ USB ทั้งสองความเร็วจะเหมือนกันทุกประการดังนั้นการที่เราจะดูว่าเป็น USB ความเร็วเท่าไรต้องดูจาก สติกเกอร์ผู้ผลิตเท่านั้น หรือต้องลงมือทดสอบกันเลย วิธีดูให้สังเกตโลโก้ที่ผู้ผลิตติดไว้จะมีดังนี้

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ไวรัสคอมพิวเตอร์

ไวรัสคอมพิวเตอร์ คืออะไร

ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus) บางครั้งเราเรียกสั้นๆ ว่า ไวรัส เป็นชื่อเรียกโปรแกรมชนิดหนึ่ง ที่มีพฤติกรรมละม้ายคล้ายคลึงกับไวรัสที่เป็นเชื้อโรคจริงๆ ซึ่งมีความสามารถในการสำเนาตัวเอง เพื่อเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทั้งยังสามารถแทรกเข้าไประบาดในระบบคอมพิวเตอร์อื่น ๆ โดยที่เจ้าของไม่ยินยอมได้อีกด้วย การแพร่ระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์ อาจเกิดจากการนำเอาแผ่นดิสก์หรือแฮนดี้ไดรฟ์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูลไวรัสก็อาจแพร่ระบาดได้เช่นกัน
ขณะที่ไวรัสคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปนั้นสร้างความเสียหาย เช่น ทำลายข้อมูล แต่ก็ยังมีไวรัสคอมพิวเตอร์อีกหลายชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ เพียงแต่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ใช้งานเท่านั้น ไวรัสคอมพิวเตอร์บางชนิดนั้นจะมีการตั้งเวลาให้ทำงานเฉพาะตามเงื่อนไข เช่น เมื่อถึงวันเวลาที่กำหนดไว้ หรือเมื่อทำการขยายตัวได้ถึงระดับหนึ่ง ซึ่งไวรัสเหล่านี้จะเรียกว่า บอมบ์ (bomb) หรือระเบิด ระเบิดเวลาจะทำงาน ส่วนระเบิดเงื่อนไขนั้นจะทำงานเมื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีการกระทำเฉพาะซึ่ง เป็นตัวจุดชนวน ไม่ว่าจะเป็นไวรัสชนิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ก็ตาม ก็จะมีผลเสียที่เกิดจากการแพร่ขยายตัวของไวรัสอย่างไร้การควบคุม ซึ่งจะเป็นการบริโภคทรัพยากรคอมพิวเตอร์อย่างไร้ประโยชน์ หรืออาจจะบริโภคไปเป็นจำนวนมาก


ตัวอย่างไวรัสคอมพิวเตอร์

ไวรัสคอมพิวเตอร์ที่มีในปัจจุบันมีมากมายหลายโปรแกรม ซึ่งสามารถทำลายหรือสร้างความเสียหายให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกระบบในหน่วยการเรียนรู้นี้จะแนะนำไวรัสคอมพิวเตอร์ที่พบมากในปัจจุบัน ได้แก่



วอร์ม (Worm) หรือหนอนอินเทอร์เน็ต เป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำสำเนาหรือเพิ่มปริมาณตัวเองได้โดยอัตโนมัติ เพื่อแพร่กระจายไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว การป้องกันไวรัสประเภทนี้จึงต้องติดตั้งหรืออัพเดทโปรแกรมค้นหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ อาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดไวรัสประเภทนี้ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานช้าลงจนไม่สามารถใช้งานได้ ไม่สามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้ ตัวอย่างไวรัสประเภทนี้ได้แก่ WORM_OPASERV.E, WORM_KWBOT.C, WORM_FRETHEM.M และ WORM_YAHA.K เป็นต้น

ม้าโทรจันหรือไวรัสโทรจันฮอร์ส (Trojan horse) เป็นไวรัสชนิดทำงานแบบอัตโนมัติตามที่ได้ตั้งค่าไว้หรือรอรับคำสั่งจากระบบเครือข่ายตัวอย่างอาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดไวรัสชนิดนี้ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์จะปิดหรือรีสตาร์ทเครื่องเองโดยไม่ได้สั่ง และลบไฟล์ในระบบคอมพิวเตอร์เอง เป็นต้น ม้าโทรจันมักจะไม่มีการขยายหรือทำสำเนาตัวเองเหมือนไวรัสประเภทอื่นๆ แต่จะทำการซ่อนตัวเองไว้ในที่ต่างๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อรอรับคำสั่งจากระบบเครือข่าย โดยมีจุดประสงค์ในการขโมยข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดไวรัส


ตัวอย่างไวรัสประเภทม้าโทรจัน ได้แก่ JS_NOCLOSE.E, TROJ_JBELLZ.A, TROJ_SLANRET.A, TROJ_KILLBOOT.B, NetBus และ Back Orifice เป็นต้น


โฮกซ์ (Hoax) เป็นไวรัสที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายมากมายนักเนื่องจากเป็นไวรัสที่มีลักษณะเหมือนจดหมายลูกโซ่ มีลักษณะเป็นอีเมล์และการแชท โดยที่มีเนื้อหาหรือจุดประสงค์เพื่อหลอกลวงผู้อ่านทำให้เกิดความสับสน วุ่นวาย ข้อความที่ใช้จะดูน่าสนใจ ตื่นเต้น โดยอาจมีการอ้างอิงถึงบริษัทใหญ่ๆ เพื่อให้ผู้รับเชื่อถือ การป้องกันไวรัสประเภทนี้ก็เพียงแต่ไม่ต้องส่งต่อข้อความหรือข้อมูลนั้นๆ


ตัวอย่างไวรัสประเภทนี้ ได้แก่ Budweiser, Bicho7, Big Brother, Blue Mountain Virus, Blueballs Are Underrated Virus, BUDDYLST.ZIP, BUDSAVER.EXE, BUGGLST, California Virus, California IBM, CELLSAVER Virus, CLEANMGR.EXE Coke.exe, Economic Slow Down in US, FAMILY PICTURES, Ghost, Go Hip, Hacky Birthday Virus และ Hell.Dear เป็นต้น


พิชชิ่ง (Phishing) เป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ที่มีหลักการทำงานเพื่อจุดประสงค์ในการปลอมแปลงเอกสารทางอีเมล์ ซึ่งมักจะกระทำโดยผู้โจรกรรมข้อมูลทางระบบเครือข่ายหรือแฮกเกอร์ (Hacker) โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้รับข้อมูลนั้นเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวทางด้านการเงิน หมายเลขบัตรเครดิต หรือรหัสผ่านeBary), ซิตี้แบงก์ (Citybank), ธนาคารชาลอทเต้ของอเมริกา (Charlotte’s Bank of America) และเบสท์ เบย์ (Best Bay)


การป้องกันหรือการตรวจสอบเอกสารดังกล่าว สามารถทำให้ ดังนี้

1.ตรวจข่าวสารเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเครือข่ายอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทราบถึงกลยุทธ์การหลอกลวง

2.หากได้รับข้อความทางอีเมล์เพื่อสอบถามรายละเอียดทางการเงิน ควรลบอีเมล์นั้นทิ้งแล้วติดต่อกับเจ้าหน้าที่การเงินทางโทรศัพท์โดยตรง

3.หลีกเลี่ยงการเปิดโปรแกรมที่ส่งมาพร้อมกับอีเมล์ เนื่องจากอาจเป็นโปรแกรมสำหรับดักจับข้อมูล

4.ตรวจสอบว่าเว็บไซด์ที่เปิดใช้มีสัญลักษณ์ของระบบการรักษาความปลอดภัย (Security) หรือไม่ โดยสัญลักษณ์นั้นจะเป็นรูปแม่กุญแจสีเหลืองทางมุมขวาด้านล่างของโปรแกรมเว็บเบราเซอร์


วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

CPU


CPU

CPU (Central Processing Unit) หรือ โปรเซสเซอร์ (Processor) คือ ส่วนหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าที่ควบคุมกา รทำงานของส่วนอื่นๆ โดยทั่วไปแล้ว ซีพียูจะประกอบไปด้วย หน่วยควบคุม (Control Unit), หน่วยประมวลผลคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ (Arithmetic and Logic Unit; ALU) และหน่วยความจำ ได้แก่ รีจีสเตอร์ (Register), แคช (Cache), แรม (RAM) และรอม (ROM)

โครงสร้างและสถาปัตยกรรมภายใน
ในปี 1971 อินเทลได้ผลิตซีพียูรุ่น Intel 4004 ออกจำหน่ายเป็นเจ้าแรก โดยบรรจุทรานซิสเตอร์ 2,300 ตัว แต่ถึงวันนี้ซีพียูเพนเทียมโฟร์ สามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากถึง 55 ล้านตัวเลข ปกติแล้วซีพียูหนึ่งตัวจะประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กมากเป็นจำนวนลานๆตัว ที่ถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการที่ซับซ้อน เพื่อสร้างวงจรลงนบแผ่นซิลิกอนบางๆขนาดเล็กพร้อมเส้นทางเชื่อมต่อ ซึ่งทรานซิสเตอร์ขนาดจิ๋วเหล่านี้จะเก็บสัญญาณไฟฟ้าที่แทน 0 และ 1 ซึ่งก็คือรหัสไบนารี่ หรือเลขฐาน 2 ซึ่งเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการติดต่อสื่อสาร โดยทั้งหมดนี้จะมีการใช้สัญญาณนาฬิกา จากผลึกคริสตัลเป็นตัวสร้างความถี่เพื่อกระตุ้นการทำงาน

หน่วยประมวลผล (CPU : Central Processing Unit)
หมายถึงอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ประมวลผลคำสั่ง เปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้ป้อนคำสั่งให้โดยผ่านทางอุปกรณ์รับข้อมูล หน่วยประมวลผลหรือเขียนเต็มๆก็คือ การประมวลผลเป็นหน้าที่หลักของซีพียู ซึ่งการประมวลผลนี้จะรวมทั้งการคำนวณและการจัดการข้อมูล สำหรับการคำนวณจะใช้วงจรเฉพาะที่มีชื่อว่า ALU Arithmetic and Login Unit และมีวงจรควบคุม CU Control Unit เป็นผู้ดูแลการทำงานของซีพียู


โครงสร้างและสถาปัตยกรรม จะประกอบด้วยส่วนต่างๆดังต่อไปนี้
หน่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์และตรรกะ ALU : Arithmetic and Logic Unit หน่วยที่ทำหน้าที่นำเอาข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง มาประมวลผลทางคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ และการเปรียบเทียบในเชิงตรรกะ เช่น AND OR NOT Exclusive OR และการทำคอมพลีเมนต์ เป็นต้น
หน่วยควบคุม CU : Control Unit หรือวงจรควบคุม Control Circuitry ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของซีพียูและจัดสรรสัญญาณนาฬิกาส่งออกไปให้ส่วนต่างๆ อ้างอิงในการทำงาน


รูปแสดงโครงสร้างของสถาปัตยกรรมภายในซีพียู

หน่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์และตรรกะ
ซีพียูจะใช้หน่วย ALU ในการคำนวณหรือประมวลหรือ ผลข้อมูล/ ชุดคำสั่ง ส่วนคำนวณทำหน้าที่หลักๆ สองประการคือ ประการแรกทำการบวก ลบ คูณ และหาร ซึ่งนอกจากหน่วย ALUจะทำหน้าที่เป็นเครื่องคำนวณในการบวก ลบ คูณ หารตัวเลขแล้ว ยังมีความสามารถในเชิงตรรกศาสตร์อีกด้วย โดยสามารถเปรียบเทียบเงื่อนไขตามกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เช่นเปรียบเทียบจำนวน 2 จำนวนตามเงื่อนไข มากกว่า น้อยกว่า เท่ากัน หรือไม่เท่ากับ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไขนั้นเป็นจริง T หรือเท็จ F เป็นต้น ซึ่งรูปแบบของการคำนวณทางคณิตศาสตร์และตรรกะ จะอยู่ในรูปของเลขฐานสองหรือข้อมูลแบบไบนารี่ สามารถทำการบวก เพื่อรวมข้อมูลของรีจีสเตอร์ 2 ตัวเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีวงจรสำหรับทำการลบได้โดยตรงอีกด้วย
ในบางกรณีรีจีสเตอร์อาจมีขนาดเล็กกว่าขนาดของอินสตรัคชันได้ เช่น มีขนาดเป็นครึ่งหนึ่งของอินสตรัคชัน ขึ้นอยู่กับการออกแบบโพรเซสเซอร์
นั้นๆ
หน่วยควบคุมหรือวงจรควบคุม
ในการประมวลผลข้อมูล ซีพียูจะต้องมีหน่วยควบคุมเพื่อที่จะบอกให้ซีพียูรู้ว่าจะแปลคำสั่ง Decode และปฏิบัติการตามคำสั่ง Execute ของโปรแกรมอย่างไร และยังต้องควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นควบคุม และจัดสรรสัญญาณนาฬิกาส่งออกไปให้ส่วนต่างๆอ้างอิงในการทำงาน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น การควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล การประสานงานระหว่างหน่วยประมวลผล กลางกับหน่วยความจำ เป็นต้น
เส้นทางเดินข้อมูลหรือสัญญาณ (bus)
ในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีระบบบัสซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งข้อมูล และสัญญาณต่างๆ เพื่อให้อุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้นั่นเอง ก็จะคล้ายกับเส้นเลือกในร่างกายของมนุษย์บัสที่เชื่อมระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารนั้น จะมีการตั้งชื่อเอาไว้ด้วย โดยเรียกตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ไม่ต่างกับการเรียกชื่อถนนในที่ต่างๆ ทำให้ทราบตรงกันว่ากำลังพูดถึงเส้นทางหรือถนนไหนนั่นเอง แต่โดยหลักๆแล้วมีอยู่ 3 ประเภทได้แก่ Address bus, Data bus, Control bus
แอดเดรสบัส (Address bus)
ใช้ส่งข้อมูลประเภทที่อยู่ (Address) ของอุปกรณ์ต้นทาง (Source) และอุปกรณ์ปลายทาง (Destination) เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงก่อนที่จะทำการส่งข้อมูลบน Data bus ขนาดของแอดเดรสบัสแยกตามรุ่นของโพรเซสเซอร์
ดาต้าบัส Data bus
ดาต้าบัส คือเส้นทางที่เชื่อมระหว่างโพรเซสเซอร์ กับหน่วยความจำ หรือหน่วยความจำกับอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต ขนาดของดาต้าบัสแยกตามชนิดของโพรเซสเซอร์
คอนโทรลบัส (Control bus)
คอนโทรลบัส คือทางเดินสำหรับสัญญาณควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆ ระหว่างโพรเซสเซอร์กับหน่วยความจำและอุปกรณ์อินพุต / เอาต์พุต ตัวอย่างเช่น
• IRQ – Interrupt requests ใช้ร้องขอการอินเตอร์รัพต์การทำงานของซีพีย ูเพื่อเปิดโอกาศให้ทำงานพิเศษที่มีการติดต่อเข้ามา • BCLK- Bus clock คือสัญญาณนาฬิกาในระบบบัส • DRQ- DMA requests ใช้ร้องขอการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุตโดยตรงไปยังหน่วยความจำหลัก

ความเร็วซีพียู
ความเร็วของซีพียูจะขึ้นอยู่กับตัวให้จังหวะการทำงาน หรือวงจรกำเนิดสสัญญาณนาฬิกา ทำหน้าที่จ่ายสัญญาณให้กับส่วนต่างๆ เพื่อให้แต่ละส่วนมีการทำงานที่เป็นจังหวะ ซึ่งจะทำให้ทุกส่วนมีการทำงานที่สัมพันธ์กัน นอกจากนั้นยังแสดงถึงความเร็วในการประมวลผลอีกด้วย เราสามารถเปรียบจังหวะของสัญญาณ นาฬิกาได้กับจังหวะการเต้นของหัวใจมนุษย์ โดยเรียกสัญญาณนาฬิกานี้ว่า “Clock” ซึ่งสัญญาณนาฬิกานี้ก็คือ ความถี่ในการส่งสัญญาณของแหล่งกำเนิดไปยังส่วนต่างๆ ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นจำนวนรอบต่อวินาทีที่เราเรียกกันว่า “เฮิรตซ์” (Hz) นั่นเอง โดยความเร็วซีพียูจะมีหน่วยเป็นเมกะเฮิรตซ์ (MHz – ระดับล้านครั้งต่อวินาที) แต่ในปัจจุบันนี้ซีพียูมีความเร็วขยับขึ้นสูงถึงระดับ กิกะเฮิรตซ์ (GHz – ระดับพันล้านรอบต่อวินาที) ถ้าซีพียูตัวใดมีความถี่ของสัญญาณนาฬิกาสูง ก็แสดงว่าซีพียูตัวนั้นสามารถประมวลผลได้ที่ความเร็วสูง
วงจรกำเนิดสัญญาณนาฬิกานั้นจะไม่ได้อยู่ในซีพียู แต่จะเป็นวงจรที่พบได้บนเมนบอร์ด (Mainboard) ซึ่งเป็นแผ่นวงจรหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยบนเมนเบอร์ดจะมี Clock Chip ซึ่งเป็นชิปขนาด 32 ขา ยาวประมาณ ? - ? นิ้ว โดยจะติดตั้งอยู่ใกล้กับ Clock Crytal ที่มีลักษณะเป็นกระป๋องทรงแบบสีเงินยาวประมาณ ? - 1/8 นิ้ว ตัวอย่างของ Clock Chip และ Clock Crytal ดังนี้




หน่วยความจำแคช (Cache Memory)

ตามกฎของมัวร์ (Law’s Gordon Moore) ได้กล่าวไว้ว่า “พลังของไมโครโพรเซสเซอร์นั้นจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ในทุกๆ 18 เดือน” กฎนี้สามารถนำมาใช้ได้อย่างถูกต้อง แต่ปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นกับหน่วยความจำนั้น ก็คือ การพัฒนาทางด้านความเร็วของหน่วยความจำไล่ตามซีพียูไม่ทันเนื่องจากเทคโนโลยีการผลิตวงจรรวม (Integrated Circuit) พัฒนาไปเร็วมาก ทำให้ซีพียูที่ผลิตออกมานับวันจะมีความเร็วสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้เกิดปัญหาด้านความเร็วที่ต่างกันระหว่างซีพียูกับแรมมีมากขึ้นตามไปด้วย เป็นเหตุให้ประสิทธิภาพการทำงานของซีพียูต่ำลง เนื่องจากซีพียูไม่สามารถทำงานได้เต็มขีดความสามารถของมัน จึงเกิดแนวความคิดที่จะสร้างแคช Cache ขึ้นภายในซีพียู ซึ่งแคชก็คือหน่วยความจำขนาดเล็กที่มีความเร็วสูงมากๆ หน้าที่ของแคชก็คือ จดจำคำสั่งและผลลัพธ์ที่ใช้บ่อยๆ ไว้ เพื่อใช้ในการประมวลผลคราวต่อๆไป ซีพียูจะได้ไม่ต้องเสียเวลาประมวลผลซ้ำอีก ยิ่งมีขนาดของแคชใหญ่ ก็ยิ่งจดจำคำสั่งได้มากขึ้น การเก็บข้อมูลภายในแคชนั้นไม่สามารถเก็บข้อมูลทั้งหมดได้ เนื่องจากขนาดที่เล็ก ดังนั้นการเก็บข้อมูลภายในแคช จึงเป็นการเก็บแต่เฉพาะข้อมูลสำคัญที่มีการเรียกใช้บ่อยๆ เพื่อเวลาที่ซีพียูต้องการเรียกใช้ข้อมูลนั้นๆอีก ก็สามารดึงจากแคชได้ทันที ความเร็วของแคชนั้นจะสูงกว่าแรมมาก และถูกสร้างอยู่ใกล้กับหน่วยประมวลผลมากขึ้น จึงทำให้การประมวลผลทำได้รวดเร็วขึ้น ซีพียูตัวแรก ที่เจอข้อจำกัดของความเร็วนั้นก็คือ ซีพียูรุ่น 486DX2 ซึงทำงานที่ความเร็วเป็นสองเท่าของบัสระบบ ซึ่งเป็นเส้นทางที่ใช้ติดต่อระหว่างซีพียูกับหน่วยความจำหลัก (ปัจจุบันเรียกสั้นๆว่า FSB : Front Side Bus) เพื่อลดปัญหาด้านความเร็วระหว่างซีพียูกับหน่วยความจำหลัก ทางผู้ออกแบบนั้นใส่ SRMA (SRAM ทำงานเร็วกว่า DRAM มากๆ ) จำนวนเล็กน้อยลงไปบนเมนบอร์ดเพื่อใช้เก็บข้อมูลที่ถูกใช้ไปก่อนหน้า ทำให้ซีพียูสามารถดึงข้อมูลจากแคชบนเมนบอร์ดมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว

ระบบสแกนนิ้วมือ

ระบบสแกนนิ้วมือ
Biometrics คือการผสมผสานเทคโนโลยีทางด้านชีวภาพและทางการแพทย์ กับเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยการตรวจวัดคุณลักษณะทางกายภาพ (Physical Characteristics) และลักษณะทางพฤติกรรม (Behaviors) ที่เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละคนมาใช้ในการระบุตัวบุคคลนั้น ๆ แล้วนำสิ่งเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกับคุณลักษณะ ที่ได้มีการบันทึกไว้ในฐานข้อมูลก่อนหน้านี้ เพื่อใช้แยกแยะบุคคลนั้นจากบุคคลอื่น ๆ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการตรวจสอบบุคคลคนนั้น ในกรณีที่อาจเป็นผู้ต้องสงสัยในการละเมิดกฎหมายได้อีกด้วย คุณลักษณะทางกายภาพของคนเรานั้นส่วนใหญ่จะไม่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา ในขณะที่พฤติกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ จึงทำให้การพิสูจน์บุคคลโดยการใช้ลักษณะทางกายภาพนั้น มีความน่าเชื่อถือมากกว่า ตัวอย่างของคุณลักษณะทางกายภาพที่นิยมนำมาใช้ ได้แก่ ลายนิ้วมือ ม่านตา ช่องตาดำ ฝ่ามือ และรูปหน้า เป็นต้น ส่วนเสียงพูด การลงลายมือชื่อ การใช้แป้นพิมพ์ ซึ่งจัดเป็นคุณลักษณะทางพฤติกรรมของบุคคล ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลาและการเรียนรู้ของเจ้าของ แต่ข้อดีอย่างหนึ่งของการใช้ Biometric ประเภทนี้ก็คือ ใช้ง่าย เป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ และมีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่ำ เนื่องจากไม่ต้องนำอวัยวะที่ไวต่อการติดเชื้อ (เช่น ดวงตา) ไปสัมผัสกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านข้อมูล Biometrics
การสแกนลายนิ้วมือหรือที่เรียกว่า Biometric ซึ่งรหัสเป็น รหัสประจำตัวที่มีเฉพาะบุคคลหนึ่งบุคคลใดเท่านั้น ไม่สามารถลอกเลียนแบบกันได้

ขั้นตอนและกระบวนการในการตรวจสอบลายนิ้วมือ


รูปแสดงกระบวนการลงทะเบียน และการตรวจสอบลายนิ้วมือ
รูป ผังงานกระบวนการลงทะเบียนลายนิ้วมือ

รูป ผังงานของการตรวจสอบลายนิ้วมือ


ขั้นตอนการตรวจสอบลายพิพม์นิ้วมือด้วยระบบ AFIS
ขั้นตอนทั่วไปในการตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมือ ดังรูป



รูปขั้นตอนพื้นฐานในการตรวจลายพิมพ์นิ้วมือ

ขั้นตอนที่ 1
การนำเข้าข้อมูลและตรวจสอบคุณภาพข้อมูล เป็นการแปลงข้อมูลจา กระดาษเข้าสู่ Computer โดย การ Scan และระบบจะทำการจัดกลุ่มแยกประเภท ของลายนิ้วมือ และทำการตรวจจับจุดสำคัญเบื้องต้น ไปด้วย



รูป การนำข้อมูลโดยการ Scan


ขั้นตอนที่ 2
การปรับแต่งลายละเอียดจุดสำคัญบนลายนิ้วมือ จากขั้นที่ 1 เครื่องจะตรวจสอบจุดสำคัญบนลายนิ้วมือเบื้องต้น แต่ข้อมูลยังไม่ละเอียดพอ ผู้ใช้ต้องปรับแต่งข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งในขั้นนี้ต้องอาศัยความชำนาญของผู้ใช้ในการตรวจหาจุดสำคัญ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วข้อมูลจะถูกแปลงเป็นรหัสสำหรับระบบ และส่งค่าไปเทียบกับลายนิ้วมือในฐานข้อมูล


รูป การกำหนดรายละเอียดและแยกประเภทลายนิ้วมือแต่ละนิ้ว


ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์และเทียบผล ระบบจะทำการตรวจสอบลายนิ้วมือที่เข้ามา ใหม่โดยการเปรียบเทียบจุดสำคัญบน ลายนิ้วมือจากข้อมูลในฐานข้อมูล ซึ่งผลอาจจะมีที่ใกล้เคียงหลายราย


รูป แสดงการเทียบภาพลายนิ้วมือที่ระบบตรวจพบ



ระบบจะส่งค่าไปยัง ฐานข้อมูลและจะทำการเลือก รูปภาพที่ตรงกัน หรือมีความคล้ายคลึง กันออกมา วิเคราะห์ผล




สีเหลืองหมายถึง ถูกต้อง สีเขียว หมายถึงไม่แน่ใจ ต้องตรวจสอบใหม่อีกครั้งรูป แสดงจุดปลายที่เครื่องตรวจสอบไม่พบ ผู้ใช้ต้องกำหนดเพิ่มเติม
คนจะเป็นผู้ตัดสินใจว่า ภาพไหนตรงกันมากที่สุด โดยการเปรียบเทียบทุกนิ้ว กับภาพผลลัพธ์ที่ระบบส่ง มา และทำการคัดเลือกภาพที่ไม่ตรงกันออกไป จนเหลือภาพที่คล้ายกันเพียงภาพเดียว



2 แถวบนเป็นลายนิ้วมือที่ต้องการตรวสอบ2 แถวล่างเป็นลายนิ้วมือที่ระบบตรวจสอบ รูป แสดงการเปรียบเทียบ ของลายนิ้วมือ


การนำลายนิ้วมือมาประยุกต์ในงานต่าง ๆ
ในปัจจุบันลายนิ้วมือได้มีบทบาทมากขึ้นในด้านการความปลอดภัยของบุคคล สถานที่ และทรัพย์สินสิ่งของ แม้กระทั่งสิ่งของชิ้นเล็ก ๆ ที่มีความสำคัญต่อเจ้าของยังสามารถทำการแสกนลายนิ้วมือมาใช้งานได้ ในที่นี้จะกล่าวถึงการนำลายนิ้วมือมาใช้ในงานด้านต่าง ๆ
1.ระบบสมาชิกร้านค้า สำหรับร้านค้าที่มีสมัครสมาชิกเพื่อสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ บ่อยครั้งที่บัตรมักจะหาย ทำให้ไม่สะดวกในการพกพา แต่ถ้าเรานำลายนิ้วมือมาใช้แทนบัตรสมาชิกก็จะเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น เช่น ถ้าเราต้องการจะซื้อของ แค่เอานิ้วไปทาบกับที่สแกน ข้อมูลก็จะออกมาว่า สมาชิกคนนี้เป็นใคร เคยซื้ออะไรบ้าง มีสิทธิพิเศษใด ๆ ในช่วงนี้
2.การลงเวลาทำงาน ส่วนใหญ่แล้วนิยมใช้บัตรตอก หรือการลงรายชื่อซึ่งมักจะมีปัญหาเรื่องพนักงานตอกบัตรแทนกัน หรือ เสียค่าใช้จ่ายในการทำบัตรใหม่เมื่อมีบัตรชำรุดหรือมีพนักงานเข้ามาใหม่ การนำลายนิ้วมือมาใช้จะช่วยเพิ่มความสะดวกในการลงเวลาเข้างาน และยังป้องกันปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วย
3.การเข้าออกประตู เช่นเดียวกับการลงเวลาทำงาน การใช้ลายนิ้วมือ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะใช้ในการเข้าออกอาคารที่มีการรักษาความปลอดภัยสูง แต่ในปัจจุบันนี้ เราสามารถนำเทคโนโลยีนี้มาใช้กับการเข้าออกอาคารทั่วไปได้ เพราะการเข้าออกแต่ละครั้ง จะมีการบันทึกข้อมูลไว้ว่าใครเป็นคนเข้าเมื่อใด และออกเมื่อใด ซึ่งหากเกิดเรื่องร้ายขึ้นมาก็สามารถทราบว่า บุคคลที่เข้าออกอาคารในช่วงนั้นมีใครบ้าง
4.รถยนต์ ในตอนนี้เริ่มมีการนำลายนิ้วมือมาใช้ในรถยนต์มากขึ้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นรถยนต์จากฝั่งยุโรป โดยเมื่อซื้อมานั่น เจ้าของรถต้องบันทึกข้อมูลลายนิ้วมือก่อน เมื่อจะใช้งานรถยนต์ก็จะต้องนำนิ้วมือไปทาบกับที่สแกนเสียก่อน มิฉะนั้นแล้วรถยนต์จะไม่ทำงาน
5.E-passport ในประเทศไทยได้เริ่มมีการทำ e-passport ทั่วประเทศในเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว โดยผู้ที่ประสงค์จะทำพาสปอร์ตต้องไปถ่ายรูปหน้าตรง และบันทึกลายนิ้วมือเพื่อบันทึกข้อมูลลง Contactless Integrated Circuit ซึ่งฝังอยู่ในพาสปอร์ต ประโยชน์ของ e-passport ทำให้เราสามารถเดินทางข้ามประเทศได้ง่ายขึ้น และไม่มีการต่ออายุพาสปอร์ตอีกด้วย e-passport จะอ่านได้จากเครื่อง Automatic Gate ณ จุดผ่านแดนระหว่างประเทศ โดยมีการตรวจพิสูจน์โดยอัตโนมัติ เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลในหนังสือเดินทาง กับผู้ถือหนังสือเดินทาง และกับฐานข้อมูลอาชญากรหรือผู้ก่อการร้าย
6.Integrated Automated Fingerprint Identification System (IAIFS) เป็นระบบใหม่ที่ FBI เริ่มใช้ ในปี พ.ศ. 2542 ระบบจัดเก็บรอยพิมพ์ลายนิ้วมือ เต็มรูปแบบ ด้วยระบบ IAFIS ซึ่งจะช่วยให้การสืบค้นประวัติ อาชญากรจากรอยนิ้วมือเป็นไป ด้วยความสะดวกรวดเร็วและแม่นยำ

การทำงานของ IAFIS
1. Ten - Print Based Fingerprint Identification Services ใช้ลายนิ้วมือทั้ง 10 นิ้วในการระบุตัวตนว่าใช้บุคคลที่ต้องการหรือไม่ ซึ่งจะทำให้การค้นหาบุคคลแม่นยำมากขึ้น

2. Latent Fingerprint Services บริการเก็บลายนิ้วมือที่แฝงอยู่

3. Subject Search and Criminal History Services ให้บริการในการค้นหาข้อมูลอาชญากร

4. Document and Imaging Services บริการแสดงรูปภาพและข้อมูลของเจ้าของลายนิ้วมือ

5. Remote Ten - Print and Latent Fingerprint Search Services ให้บริการค้นหาลายนิ้วมือทางไกล


6. A fingerprint verification ATM เป็นบริการใหม่ที่ใช้กันอยู่ในบางประเทศ เป็นเครื่องเบิกเงินสดที่มีที่สแกนลายนิ้วมือ ซึ่งผู้ใช้ต้องเสียบบัตร ATM แล้วนำนิ้วไปทาบที่สแกนก่อนที่จะทำการเบิกเงิน

ข้อดีข้อเสียของเทคโนโลยีลายนิ้วมือ

ข้อดี
- มีความปลอดภัยมากขึ้น เพราะลายนิ้วมือนั้นเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถให้ใครได้ ไม่สามารถทำการเลียนแบบได้ อีกทั้งลายนิ้วมือยังเป็นเอกลักษณ์เฉพาะบุคคลที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา- ได้รับความสะดวกสบายมากขึ้นเพราะลายนิ้วมือเป็นสิ่งที่ติดตัวเราตลอดเวลา - เทคโนโลยีลายนิ้วมือนี้ใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลน้อยกว่าเทคโนโลยีไบโอเมตริกในด้านอื่น ๆ - แนวคิดของเทคโนโลยีลายนิ้วมือนี้เป็นสิ่งที่สามารถเข้าใจได้ง่าย จึงประหยัดเวลาในการที่จะเรียนรู้ของผู้ใช้งาน- เครื่องสแกนลายนิ้วมือมีขนาดเล็ก จึงทำให้ประหยัดไฟ และสามารถนำเครื่องสแกนนั้นไปประยุกต์ใช้บนสิ่งต่าง ๆ ได้สะดวก เช่น แลปทอป โทรศัพท์มือถือ พีดีเอ และแฮนดี้ไดร์ฟเป็นต้น- เทคโนโลยีลายนิ้วมือเป็นเทคโนโลยีที่มีมานาน จึงเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนามาเรื่อย ๆ จึงทำให้ผู้ผลิตเลือกที่จะผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีลายนิ้วมือนี้ จึงสามารถสร้างทางเลือกให้กับลูกค้าได้มาก


ข้อเสีย
- ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีลายนิ้วมือนี้จะสามารถเพิ่มความปลอดภัยได้ แต่ก็ยังเป็นที่หงุดหงิดรำคาญใจของผู้ใช้งานที่จะใช้เทคโนโลยีนี้ในทุก ๆ วัน - นิ้วมือเป็นส่วนที่ได้รับความสกปรกง่ายกว่าส่วนอื่นของร่างกาย เมื่อเรานำนิ้วไปสแกนอาจทำให้เครื่องนั้นไม่สามารถอ่านได้ นอกจากนั้นยังทำให้เครื่องได้รับความสกปรก ซึ่งจะส่งผลให้เครื่องสแกนลายนิ้วมือนั้นเสื่อมประสิทธิภาพลงด้วย - เทคโนโลยีลายนิ้วมือนั้นยังไม่มีความน่าเชื่อถือได้ 100% จึงยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ร่วมกับสิ่งที่สามารถระบุตัวตนอื่น ๆ เช่นรหัสผ่าน หรือ หมายเลยพิน - คนบางกลุ่มยังมีความเชื่อว่า การใช้ลายนิ้วมือในการระบุตัวบุคคลนั้น เหมือนตนเป็นอาชญากร จึงทำให้คนกลุ่มดังกล่าวนั้นไม่อยากที่จะใช้เทคโนโลยีนี้ ส่งผลให้เทคโนโลยีลายนิ้วมือนั้น ไม่เป็นที่แพร่หลายให้บางพื้นที่ บางประเทศ - เนื่องจากเทคโนโลยีลายนิ้วมือนั้นเป็นเทคโนโลยีที่มีมานานแล้ว จึงทำให้ผู้ผลิต ผลิตสินค้าเกี่ยวกับเทคโนโลยีลายนิ้วมือออกมาอย่างหลากหลาย จึงทำให้เกิดความไม่เข้ากันของเทคโนโลยีลายนิ้วมือ