วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ไวรัสคอมพิวเตอร์

ไวรัสคอมพิวเตอร์ คืออะไร

ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus) บางครั้งเราเรียกสั้นๆ ว่า ไวรัส เป็นชื่อเรียกโปรแกรมชนิดหนึ่ง ที่มีพฤติกรรมละม้ายคล้ายคลึงกับไวรัสที่เป็นเชื้อโรคจริงๆ ซึ่งมีความสามารถในการสำเนาตัวเอง เพื่อเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทั้งยังสามารถแทรกเข้าไประบาดในระบบคอมพิวเตอร์อื่น ๆ โดยที่เจ้าของไม่ยินยอมได้อีกด้วย การแพร่ระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์ อาจเกิดจากการนำเอาแผ่นดิสก์หรือแฮนดี้ไดรฟ์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูลไวรัสก็อาจแพร่ระบาดได้เช่นกัน
ขณะที่ไวรัสคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปนั้นสร้างความเสียหาย เช่น ทำลายข้อมูล แต่ก็ยังมีไวรัสคอมพิวเตอร์อีกหลายชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ เพียงแต่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ใช้งานเท่านั้น ไวรัสคอมพิวเตอร์บางชนิดนั้นจะมีการตั้งเวลาให้ทำงานเฉพาะตามเงื่อนไข เช่น เมื่อถึงวันเวลาที่กำหนดไว้ หรือเมื่อทำการขยายตัวได้ถึงระดับหนึ่ง ซึ่งไวรัสเหล่านี้จะเรียกว่า บอมบ์ (bomb) หรือระเบิด ระเบิดเวลาจะทำงาน ส่วนระเบิดเงื่อนไขนั้นจะทำงานเมื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีการกระทำเฉพาะซึ่ง เป็นตัวจุดชนวน ไม่ว่าจะเป็นไวรัสชนิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ก็ตาม ก็จะมีผลเสียที่เกิดจากการแพร่ขยายตัวของไวรัสอย่างไร้การควบคุม ซึ่งจะเป็นการบริโภคทรัพยากรคอมพิวเตอร์อย่างไร้ประโยชน์ หรืออาจจะบริโภคไปเป็นจำนวนมาก


ตัวอย่างไวรัสคอมพิวเตอร์

ไวรัสคอมพิวเตอร์ที่มีในปัจจุบันมีมากมายหลายโปรแกรม ซึ่งสามารถทำลายหรือสร้างความเสียหายให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกระบบในหน่วยการเรียนรู้นี้จะแนะนำไวรัสคอมพิวเตอร์ที่พบมากในปัจจุบัน ได้แก่



วอร์ม (Worm) หรือหนอนอินเทอร์เน็ต เป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำสำเนาหรือเพิ่มปริมาณตัวเองได้โดยอัตโนมัติ เพื่อแพร่กระจายไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว การป้องกันไวรัสประเภทนี้จึงต้องติดตั้งหรืออัพเดทโปรแกรมค้นหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ อาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดไวรัสประเภทนี้ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานช้าลงจนไม่สามารถใช้งานได้ ไม่สามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้ ตัวอย่างไวรัสประเภทนี้ได้แก่ WORM_OPASERV.E, WORM_KWBOT.C, WORM_FRETHEM.M และ WORM_YAHA.K เป็นต้น

ม้าโทรจันหรือไวรัสโทรจันฮอร์ส (Trojan horse) เป็นไวรัสชนิดทำงานแบบอัตโนมัติตามที่ได้ตั้งค่าไว้หรือรอรับคำสั่งจากระบบเครือข่ายตัวอย่างอาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดไวรัสชนิดนี้ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์จะปิดหรือรีสตาร์ทเครื่องเองโดยไม่ได้สั่ง และลบไฟล์ในระบบคอมพิวเตอร์เอง เป็นต้น ม้าโทรจันมักจะไม่มีการขยายหรือทำสำเนาตัวเองเหมือนไวรัสประเภทอื่นๆ แต่จะทำการซ่อนตัวเองไว้ในที่ต่างๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อรอรับคำสั่งจากระบบเครือข่าย โดยมีจุดประสงค์ในการขโมยข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดไวรัส


ตัวอย่างไวรัสประเภทม้าโทรจัน ได้แก่ JS_NOCLOSE.E, TROJ_JBELLZ.A, TROJ_SLANRET.A, TROJ_KILLBOOT.B, NetBus และ Back Orifice เป็นต้น


โฮกซ์ (Hoax) เป็นไวรัสที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายมากมายนักเนื่องจากเป็นไวรัสที่มีลักษณะเหมือนจดหมายลูกโซ่ มีลักษณะเป็นอีเมล์และการแชท โดยที่มีเนื้อหาหรือจุดประสงค์เพื่อหลอกลวงผู้อ่านทำให้เกิดความสับสน วุ่นวาย ข้อความที่ใช้จะดูน่าสนใจ ตื่นเต้น โดยอาจมีการอ้างอิงถึงบริษัทใหญ่ๆ เพื่อให้ผู้รับเชื่อถือ การป้องกันไวรัสประเภทนี้ก็เพียงแต่ไม่ต้องส่งต่อข้อความหรือข้อมูลนั้นๆ


ตัวอย่างไวรัสประเภทนี้ ได้แก่ Budweiser, Bicho7, Big Brother, Blue Mountain Virus, Blueballs Are Underrated Virus, BUDDYLST.ZIP, BUDSAVER.EXE, BUGGLST, California Virus, California IBM, CELLSAVER Virus, CLEANMGR.EXE Coke.exe, Economic Slow Down in US, FAMILY PICTURES, Ghost, Go Hip, Hacky Birthday Virus และ Hell.Dear เป็นต้น


พิชชิ่ง (Phishing) เป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ที่มีหลักการทำงานเพื่อจุดประสงค์ในการปลอมแปลงเอกสารทางอีเมล์ ซึ่งมักจะกระทำโดยผู้โจรกรรมข้อมูลทางระบบเครือข่ายหรือแฮกเกอร์ (Hacker) โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้รับข้อมูลนั้นเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวทางด้านการเงิน หมายเลขบัตรเครดิต หรือรหัสผ่านeBary), ซิตี้แบงก์ (Citybank), ธนาคารชาลอทเต้ของอเมริกา (Charlotte’s Bank of America) และเบสท์ เบย์ (Best Bay)


การป้องกันหรือการตรวจสอบเอกสารดังกล่าว สามารถทำให้ ดังนี้

1.ตรวจข่าวสารเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเครือข่ายอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทราบถึงกลยุทธ์การหลอกลวง

2.หากได้รับข้อความทางอีเมล์เพื่อสอบถามรายละเอียดทางการเงิน ควรลบอีเมล์นั้นทิ้งแล้วติดต่อกับเจ้าหน้าที่การเงินทางโทรศัพท์โดยตรง

3.หลีกเลี่ยงการเปิดโปรแกรมที่ส่งมาพร้อมกับอีเมล์ เนื่องจากอาจเป็นโปรแกรมสำหรับดักจับข้อมูล

4.ตรวจสอบว่าเว็บไซด์ที่เปิดใช้มีสัญลักษณ์ของระบบการรักษาความปลอดภัย (Security) หรือไม่ โดยสัญลักษณ์นั้นจะเป็นรูปแม่กุญแจสีเหลืองทางมุมขวาด้านล่างของโปรแกรมเว็บเบราเซอร์


ไม่มีความคิดเห็น: